Monday 14 September 2015

Crayfishกุ้งสวย และใครจับกุ้ง และใครซื้อกุ้ง ลงตัวเรื่องกุ้งหรือยัง

Crayfishกุ้งสวย และใครจับกุ้ง และใครซื้อกุ้ง ลงตัวเรื่องกุ้งหรือยัง



http://dreamzsugar.blogspot.com/2015/09/indexfish-part-2-for-shrimpand-urbanized.html










http://www.enchantedlearning.com/subjects/invertebrates/crustacean/Crayfishprintout.shtml

http://www.telegraph.co.uk/comment/telegraph-view/9555506/Eat-or-be-eaten.html

http://aquabonsai.tumblr.com/page/5

http://www.shrimpcrabsandcrayfish.co.uk/

http://www.aquaforum.ua/showthread.php?t=24683



http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99/117/61094/06/2015/Good-Morning-Family-News.html


THAI TV3
11:05 - 13:30
เที่ยงวันทันเหตุการณ์...
เที่ยงวันทันเหตุการณ์
TV3 HD
11:05 - 13:30
เที่ยงวันทันเหตุการณ์...
รายการข่าวที่เกาะติด ทุกสถานการณ์ข่าวร้อน ทั้งข่าวสังคม การเมือ...
TV3 SD
10:30 - 11:15
รักเกิดในตลาดสด
นำแสดงโดย : มาริโอ้ , มาร์กี้ ราศรี , นก จริยา , ต่อง สาวิตรี ,...
TV3 FAMILY
11:00 - 11:30
เซย์ไฮ
ท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น แบบทุกซอกทุกมุมไปกับ คุณติ๊ก-พิธีกรสาว ...
call-center-pn3

หน้าแรก » รายการข่าวย้อนหลัง » Good Morning Family News
RERUN

 Good Morning Family News









GoodMorningFamilyNews | การเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชสวยงาม, เกษตรโลก เกษตรเรา

พบกับ 2 พิธีกรอารมณ์ดี นิรมล เมธีสุวกุล และ ปัฐวี บัววิรัตน์ ทุกเช้าวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7:00 - 8:00 น.
ช่องทางออกอากาศ : [TV3 FAMILY ช่อง13] 
วันที่ 23 มิถุนายน 2558




กุ้งเครย์ฟิช สัตว์น้ำยอดฮิตชนิดใหม่ของวัยรุ่น


กุ้งยอดฮิต เครย์ฟิช สัตว์น้ำชนิดใหม่ของวัยรุ่น (เทคโนโลยีชาวบ้าน)

โดย สิริพร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
คอลัมน์ สัตว์น้ำน่าเลี้ยง

กุ้งเครย์ฟิช กลายเป็นแฟชั่นใหม่ของวัยรุ่นที่ชอบเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามไปซะแล้ว ด้วยความที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม และเป็นสัตว์น้ำที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีรูปร่างบึกบึนน่าเกรงขาม เลี้ยงง่าย กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ราคาเริ่มตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายพันบาท ทำให้กลายเป็นที่นิยมกว้างขวางขึ้นในหมู่วัยรุ่น

กุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืด มีถิ่นกำเนิดทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออก และออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 500 สายพันธุ์ มักอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือใต้ขอนไม้ตามหนองน้ำ หรือลำธาร

คุณวิโรจน์ ไชยกิตติรุ่งโรจน์ อายุ 28 ปี ผู้ที่เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์กุ้งเครย์ฟิช กล่าวว่า ขณะนี้มีความนิยมเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในหมู่วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาสวยงาม ที่กำลังมีความสนใจหันมาเลี้ยงกุ้งกันมากขึ้น เพราะมีความสวยงาม แปลกตา เลี้ยงง่าย ให้ความเพลิดเพลิน ไม่เป็นอันตรายกับผู้เลี้ยง

"กุ้งเครย์ฟิช ได้รับความนิยมมาหลายเดือนแล้ว โดยมีผู้นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น มาเพาะขยายและจำหน่าย กุ้งเครย์ฟิชมีรูปร่างบึกบึนน่าเกรงขาม แต่ก็มีความคลาสสิค ซึ่งกุ้งแต่ละตัวจะมีสีสันที่โดดเด่นของตัวเอง หากมีการเลี้ยงดูและให้อาหารเป็นอย่างดี จะทำให้กุ้งขับสีในตัวออกมาชัดเจนสวยงามมากขึ้น" คุณวิโรจน์ กล่าว

กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า

สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้

ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา

อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน

สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3

กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง

ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง

ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย

การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้

"ไม่ควรเลี้ยง กุ้งเครย์ฟิช ที่มีถิ่นกำเนิดต่างกันไว้ด้วยกัน เพราะพันธุ์ที่มีนิสัยก้าวร้าว จะจับพันธุ์ที่มีนิสัยเรียบร้อยกว่ากินเป็นอาหาร รวมทั้งควรเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดเท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน" คุณวิโรจน์ กล่าว

พร้อมกันนี้ คุณวิโรจน์ ยังบอกอีกว่า ไม่ควรเลี้ยง กุ้งเครย์ฟิช รวมกับปลาสวยงามที่อาศัยบริเวณก้นตู้ แต่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาสวยงามขนาดกลางที่ว่ายบริเวณกลางน้ำหรือผิวน้ำได้ เป็นอย่างดี และต้องมีนิสัยไม่ดุร้าย มิฉะนั้น กุ้งเครย์ฟิช อาจกลายเป็นอาหารปลาได้

กุ้งเครย์ฟิช ที่วัยรุ่นนิยมเลี้ยงคือ กุ้งเครย์ฟิช สโนไวท์ จะเป็นกุ้งสีขาว บลูสปอร์ตเป็นสีฟ้า ไบรต์ออเรนจ์สีส้ม และอะเรนนี่สีน้ำเงิน ราคาที่จำหน่ายในท้องตลาดมีตั้งแต่ 300-2,000 บาท ต่อตัว แต่หากซื้อไปเลี้ยงเป็นคู่ โดยเฉพาะกุ้งเครย์ฟิชสีน้ำเงินหรืออะเรนนี่ จำหน่ายคู่ละ 3,500บาท เพราะสีน้ำเงินเป็นสีที่นิยมและหายากในขณะนี้

สำหรับผู้อ่านที่สนใจเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช สามารถหาซื้อได้ตามตลาดสัตว์น้ำทั่วไป เมื่อต้องการเลือกซื้อมาเลี้ยงต้องดูความแข็งแรงของตัวกุ้งด้วย หากเห็นว่ากุ้งนั้นไม่ปราดเปรียวหรือเชื่องช้า ก็อย่าเลือกซื้อมาเลี้ยง เพราะเป็นกุ้งที่ไม่แข็งแรง ถ้านำมาเลี้ยง อยู่ได้ไม่นานก็อาจตายได้ ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อกุ้งตัวที่มีสีเข้มทั้งตัว ไม่มีอาการเซื่องซึม ก้ามทั้ง 2 ข้าง ต้องเท่ากัน มีขาครบทุกข้าง และที่สำคัญอย่าลืมให้ความรัก ความใส่ใจกับสัตว์เลี้ยงด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด







พระเครื่อง |ดูดวง |สถานที่ท่องเที่ยว|ก๋วยเตี๋ยวเรือ|กุมารทอง | เครื่องรางของขลัง | ผี | พระเครื่องสารบัญเว็บไซต์|ชมรมถ่ายภาพ |ราคาพระเครื่อง|พระเครื่อง|การ์ตูน|พระเครื่อง|วัตถุมงคล |ตะกรุด|กุมารทอง|กุมารทอง|พระเครื่อง 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amuletstory&month=04-2012&date=27&group=32&gblog=26










กุ้งไทยรักษ์ป่าชายเลน
ป่าชายเลนกับระบบการเลี้ยงกุ้ง
Execusive Summery งานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 22


 March 29, 2015    Categories: ต้มยำกุ้งน้ำใส ไข่ตุ๋น. Tags: ต้มยำกุ้งน้ำใส ไข่ตุ๋น Comments Off
0
 
 
 
 
New
 
 
0
 
 
0
 
 
0
 
 
0
 
เป็นเมนูที่ อยากให้ลองครับ เพราะทำง่ายๆ ทำทานกันเองแบบ ไม่เกรงใจใคร นายเหลือง ชอบเมนูนี้ เพราะทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คนทานต่างติดใจ ชมว่าไอเดียดีครับ ร้านอาหารที่ไหน จะเอาเมนูนี้ไป ทำก็ไม่ว่ากัน เพราะอาจเป็นที่นิยมให้ฝรั่งมังค่าเขาล๋ำลือ ว่าไปนั้น ครับ เอาเป็น นายเหลือง อยากให้ลองก็แล้วกัน เดี๋ยวมาดูวิธีทำกันนะครับ
เรามาดูกันว่าต้มยำกุ้ง น้ำใส ทานบนไข่ตุ๋นนั้นทำอย่างไร
- See more at: http://howeasythaifood.info/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%99/#sthash.YlUdtnQw.dpuf

http://howeasythaifood.info/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%99/




 ดูทั้งหมด
อียูแก้ไขกฎระเบียบเพิ่มเติมข้อบังคับสำหรับสินค้าอาหารแช่แข็งที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ ณ วันที่ 14 มี.ค. 2555
ข้อกำหนดใหม่ของประเทศแคนาดาเกี่ยวกับการรับรองการปลอดโรคสัตว์น้ำสำหรับสินค้าสัตว์น้ำนำเข้า ณ วันที่ 01 ธ.ค. 2554
GSP จากอียู สิทธิพิเศษทางการค้าที่กำลังจะหมดไป ณ วันที่ 20 ก.ย. 2554
อัตราการตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นสุดท้าย (Antidumping POR 5) ของสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ ณ วันที่ 15 ก.ย. 2554
สรุปการประชุมสัมมนาโครงการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน ณ วันที่ 22 ส.ค. 2554

http://www.thaifranchisecenter.com/event/show.php?etID=6827
http://www.thaishrimp.org/TH/index/index.html


ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน ปี 2556

 
 
ในทุกๆช่วงฤดูน้ำหลาก คือ ช่วงกลางเดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายนของทุกๆปี ณ บริเวณลานพันรู น้ำตกแก่งลำดวน ในพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จะเกิดปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสุดมหัศจรรย์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น UNSEEN IN THAILAND ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นค่ะ 
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุบลราชธานี ขอชวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวงาน เทศกาลมหัศจรรย์กุ้งเดินขบวน ประจำปี 2556 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 สิงหาคม ปี 2556 ณ ลานพันรู บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน ในพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี 
 
ซึ่งช่วงเวลานี้จะตรงกับช่วงฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำและความเชี่ยวของกระแสน้ำบริเวณน้ำตกแก่งลำดวนจะเหมาะสำหรับการเกิดปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน อันน่าตื่นตาตื่นใจ โดยกุ้งที่มาเดินขบวนที่น้ำตกแห่งนี้คือ กุ้งฝอย จัดว่าเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยตามผิวน้ำริมตลิ่ง แหล่งน้ำต่างๆ ชอบกินจุลินทรีย์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 2-7 ซม. โดยจะขึ้นมาเดินบนพลาญหิน ลานพันรู อย่างน่ามหัศจรรย์ในเวลากลางคืน เวลาประมาณ 09.00 น.-04.00 น.ของอีกวันหนึ่ง 
 
นอกจากนี้แล้วทางสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี ได้จัดบ้านพักและเต็นท์นอน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่มาชมกุ้งเดินขบวน และจัดค่ายเยาวชน แต่ต้อติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า 15 วัน การดูกุ้งเดินขบวนขอให้นักท่องเที่ยวเชื่อฟังเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ 
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ว่าการอำเภอน้ำยืน โทรศัพท์หมายเลข 045-371089, 045-371089, 045-371442, 045-371442หรือที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี 045-410040, 089-2853598 
 
ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่เรายังไปไม่ครบ ทราเวลไทยซ่าส์จึงขอชวนเพื่อนๆไปท่องเที่ยวเมืองไทยแบบไทยเที่ยวไทยกันบ้างนะคะ
 
เรียบเรียงบทความโดย http://travel.thaiza.com/
ภาพ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า 
- อ่านต่อได้ที่ ThaiFranchiseCenter : http://www.thaifranchisecenter.com/event/show.php?etID=6827

 กรมประมงเปิดเวทีระดมความคิดเห็น เตรียมปั้นยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3
 
                        วันพฤหัสบดี 29 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ กรมประมงกำหนดจัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นเชิงวิชาการ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งกับอุตสาหกรรมกุ้งไทย ฉบับที่ 3 (2557-2559) เตรียมผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายให้การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยเกิดความยั่งยืน ก่อนยุทธศาสตร์กุ้ง ฉบับที่ 2 จะสิ้นสุดลงในปี 2556 นี้ นางสาววารินทร์ ธนาสมหวัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประมง กรมประมง เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกกุ้งยาวนานกว่า 30 ปี โดยสามารถสร้างมูลค่าจากการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ได้ปีละกว่า 1 แสนล้านบาท และจากการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการส่งออก พบว่าสินค้ากุ้งของไทยยังมีอนาคตที่สดใส โดยมีศักยภาพและ ความพร้อมในการแข่งขันสูงกว่าผู้ส่งออกรายอื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมกุ้งไทยเสมอมา และได้สนับสนุนให้มีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพกุ้งไทยตลอดสายการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมากรมฯ ได้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์กุ้งฉบับที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2548 และใช้เป็นแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยในช่วงปี 2549 – 2551 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 ระหว่างปี 2553 – 2556 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลง ในปลายปีที่จะถึงนี้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งของไทย กรมประมงจึงกำหนดให้มีการระดมความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกุ้งตลอดสายการผลิตกว่า 100 คน ผ่านการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งกับอุตสาหกรรมกุ้ง ฉบับที่ 3 ขึ้น โดยจะมีการพิจารณาร่างยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 ซึ่งจะใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยในช่วงปี 2557 - 2559 ต่อไป สำหรับเนื้อหาของยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 ยังคงใช้กรอบการบริหารแนวทางโดยยึดหลัก “การตลาดนำการผลิต” บนฐานของ “Quality Supply Meets Demand” และเน้นการดำเนินงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยเชิงรุกระยะสั้น ระหว่าง 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2559 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยที่สร้างรายได้ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านมิติแห่งการพัฒนา 5 มิติ ประกอบด้วย เพิ่มศักยภาพพันธุ์กุ้งทะเลคุณภาพ บริหารจัดการด้านการผลิตอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มศักยภาพการตลาดทุกระดับ ผลักดันการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทย และสนับสนุนการขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดในประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ กรมฯ คาดหวังว่า ข้อสรุปจากการจัดทำร่างยุทธศาสตร์กุ้ง ฉบับที่ 3 จะช่วยให้เกิดความชัดเจนในแนวทางการพัฒนาการผลิตกุ้งของไทย เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง และผู้ประกอบการส่งออกได้เกิดความมั่นใจ และทำให้อุตสาหกรรมกุ้งเกิดความมั่นคงและยั่งยืนสืบไป
 
 
  ฝ่ายประชาสัมพันธ์   29/08/2556

http://www.fisheries.go.th/fish/pr/news_detail.php?news_id=481

https://www.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-111236108920978/timeline/
ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3
ปี 2557-2559
บรรยายโดย ดร.พุทธ ส่องแสงจินดา ผฺอ.สถาบันกุ้ง
กรมประมง (แทน ดร.คมน์ ศิลปาจารย์)
หลังจากกรอบแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยตามยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 สิ้นสุดลงในปี 2556 คณะอนุกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์จึงมีความเห็นร่วมกันที่จะให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 เกิดการยอมรับและเห็นพ้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรมประมงผู้ซึ่งรับผิดชอบสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ ได้จัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3” ขึ้น และนำ “ร่างยุทธศาสตร์กุ้ง” ดังกล่าว เข้าสู่กระบวนการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์หลัก” ในการสัมมนาระดมความคิดเห็น การจัดทำร่าง “ยุทธศาสตร์กุ้งไทยฉบับที่ 3 ปี 2557-2559” ในวันที่ 29 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ ลาดพร้าว โดย ผู้เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นซึ่งประกอบผู้แทนจากหน่วยงาน/องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดยแนวทางในการดำเนินงานของ ยุทธศาสตร์กุ้ง ฉบับที่ 3 มีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ในชื่อ “ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3” และเป็นยุทธศาสตร์เพื่อ “การพัฒนาเชิงรุก” และ “เป็นเอกภาพ” โดยให้กรมประมงเป็นแกนกลางในการรวบรวมภารกิจจากหน่วยงานอื่น ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ทราบผลการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 จะเป็นการใช้กลยุทธ์ทางด้านการตลาดควบคู่การผลิต โดยจะดำเนินการทำการตลาดบนพื้นฐานด้านศักยภาพการผลิตภายในประเทศและกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก และเน้นการดำเนินงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เพื่อเป็นกรอบแนวทางสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยเชิงรุกระยะสั้น ระหว่าง 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2559 ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์ (Vision) ของยุทธศาสตร์กุ้งไทยในช่วงปี 2557-2559 จะมุ่งเน้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยในฐานะที่เป็นสินค้าสำคัญ (Product champion) ของประเทศ ที่สร้างรายได้ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (From Farm to Table) เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับบริบทของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ในมิติของการใช้ปัจจัยทางการผลิต (Material substances) ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ (Fishery Resources) ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) และทรัพยากรทางสังคมวัฒนธรรม (Culture & Social Resources) บนแนวทางของความยั่งยืน (Sustainable Aspects) และบนฐานความเข้มแข็งขององค์กร เพื่อให้ได้สินค้ากุ้งที่ สวย สด สะอาด รสชาติดี มีมาตรฐาน ตรวจสอบได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมากขึ้น ในฐานะที่เป็นสินค้ากุ้งจากประเทศผู้นำ
วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 “กุ้งไทยก้าวหน้า สู่ประชาคมอาเซียน อย่างยั่งยืน”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ หรือภารกิจที่จะต้องมีการดำเนินงานตามกรอบแนวทางที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์กุ้งไทยฉบับที่ 3 ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ในช่วงเวลา 3 ปีแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้มี การผลิต การแปรรูป และการตลาด ที่ได้มาตรฐานตามแนวทางแห่งการอนุรักษ์ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติในฐานะเป็นสินค้าที่สำคัญทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และส่งผลถึงความยั่งยืนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต ประกอบด้วย 5 พันธกิจหลัก ซึ่งมีสาระสำคัญใน 5 มิติ คือ
1. เพิ่มศักยภาพพันธุ์กุ้งทะเลคุณภาพ
2. บริหารจัดการด้านการผลิตอย่างยั่งยืน
3. เพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มศักยภาพการตลาดทุกระดับ
4. ผลักดันการวิจัยเพื่อพัฒนาอุสาหกรรมกุ้งไทย
5. สนับสนุนการขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ (Objectives)
1) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดวาระในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทย1ตามยุทธศาสตร์กุ้ง ฉบับที่ ก57-2559
2) เพื่อให้มีกรอบทิศทางอย่างชัดเจน ในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทย ครบวงจรตลอดสายการผลิต ในช่วงปี 2557-2559
3) เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทยพัฒนาสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
4) เพื่อให้ประเทศไทยคงความเป็นผู้นำด้านสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก
5) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ในตลาด ASEAN
เป้าหมาย (Goal)
ระยะเวลาดำเนินการ ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่.3 เป็นกรอบสำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทย ต่อเนื่องจาก ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 ปี 2553-2556 โดยจะรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งอุตสาหกรรมกุ้ง ผ่านการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นในวันที่ 29 สิงหาคม 2556 เพื่อนำมาปรับยุทธศาสตร์ฉบับร่างให้เกิดความสมบูรณ์ของยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 มากที่สุด และจะใช้ยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวเป็นกรอบการดำเนินงานระยะสั้น 3 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559
เป้าหมายในการดำเนินงาน จากสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดของอุตสาหกรรมกุ้งโลก สถานการณ์ด้านการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมกุ้ง และศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศไทย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นำมาซึ่งเป้าหมายของยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 ปี 2557-2559 ในรูปแบบที่เป็นไปตามภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลักของไทย (สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป) ดังนี้
1. ผลผลิตกุ้งในปี 2555 เปลี่ยนแปลงในทางบวกจากปี 2554 ซึ่งเป็นผลพวงมาจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย รวมถึงการปรับตัวของภาคการผลิตในการเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายอื่น ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย เกิดความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม จากภาวะราคากุ้งตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549-2555 ประกอบกับการเกิดการระบาดของโรค EMS ในช่วงปี 2556 ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้กรมประมงวางแผนว่าปริมาณการผลิตกุ้งของไทยในปี 2556 คาดว่าจะมีผลผลิต 250,000 ตัน ซึ่งตัวเลขที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 จะเริ่มประมาณการจากฐานที่วางไว้ คือที่ 400,000 ตัน และจะเปลี่ยนแปลงประมาณปีละ ±12-15% ในปี 2557-2559 โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
• ปี พ.ศ.2557 ผลิตกุ้งในปริมาณ 400,000 ตัน
• ปี พ.ศ.2558 ผลิตกุ้งในปริมาณ 450,000 ตัน
• ปี พ.ศ.2559 ผลิตกุ้งในปริมาณ 500,000 ตัน
เนื่องจาก ปัญหาผลผลิตกุ้งภายในประเทศปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหาการระบาดของ EMS ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลักที่ครองสัดส่วนตลาดประมาณ 80-85% อยู่ในภาวะถดถอย แต่แนวโน้มการบริโภคสินค้ากุ้งของโลกไม่ลดลง ถึงแม้สินค้ากุ้งของไทยจะมีผลผลิตลดลงแต่ด้านมาตรฐาน ผลผลิตกุ้งที่ได้มีมาตรฐานสูง ปลอดสารตกค้าง ซึ่งตรงตามกระแสความตระหนักในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณการส่งออกในปี 2556 อาจจะลดลงไม่มากนักจากปี 2555 และจะเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณปีละ 15% ในปี 2557 ไปจนถึงปี 2559 เนื่องจากผลผลิตกุ้งเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะมีมูลค่าต่อหน่วยลดลงเล็กน้อย (จากราคาเฉลี่ยตันละประมาณ 0.2350 ล้านบาท) เนื่องจากสภาวะการแข่งขันด้านราคามีมากขึ้น จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของแต่ละประเทศผู้ผลิต และคาดว่าภาวะด้านราคาต่อหน่วยดังกล่าวจะส่งผลในช่วง 3 ปี ของการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ดังนี้
• ปี พ.ศ. 2557 ปริมาณส่งออก 304,000 ตัน มูลค่า 80,000 ล้านบาท
• ปี พ.ศ. 2558 ปริมาณส่งออก 342,000 ตัน มูลค่า 85,000 ล้านบาท
• ปี พ.ศ. 2559 ปริมาณส่งออก 380,000 ตัน มูลค่า 90,000 ล้านบาท
2. มุ่งขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดสู่ประชาคมอาเซียน
จากประสบการณ์ของไทยที่สามารถปรับปรุงการเพาะเลี้ยงจนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ดี จะเป็นคำตอบได้ว่าการเลี้ยงกุ้งในอนาคตข้างหน้ามีความยั่งยืนอย่างแน่นอนหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกิดขึ้น กลุ่มโรงงานแปรรูป ห้องเย็นจำนวนมากจะย้ายฐานที่ตั้งไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีสิทธิพิเศษทางด้านภาษี ค่าแรงยังต่ำอยู่ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ขณะที่ไทยจะเป็นเพียงฐานการผลิตกุ้งรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง กำลังการผลิตสูงเพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานและห้องเย็นของประเทศเพื่อนบ้าน
3. การบริโภคภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 20
4. มีระบบภูมิคุ้มกันด้านการผลิต
4.1) ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GAP มากกว่า 90%
4.2) มีระบบการผลิตที่หลากหลาย เกษตรกรสามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับศักยภาพในการผลิตของตนเอง
4.3) องค์กรเกษตรกรมีการจัดสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Management) เป็นของตนเอง
4.4) มีการพัฒนาการทำ Contract Farming ในระบบของอุตสาหกรรมกุ้ง
4.5) มีความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมด้านการผลิตกุ้งในระดับภูมิภาคภายในประเทศ
4.6)องค์กรภาคผู้ผลิตมีความเข้มแข็ง
4.7) มีแนวคิดในการรวมกลุ่มแบบคลัสเตอร์
5. มีระบบภูมิคุ้มกันด้านการตลาด
5.1) ระบบการตามสอบสินค้ากุ้ง (Shrimp Traceability) ที่ผู้นำเข้าและผู้บริโภคสินค้ากุ้งสามารถทดสอบและตรวจสอบที่มาที่ไปของสินค้าได้ และในขณะเดียวกันหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสินค้ากุ้งก็สามารถตามสอบถึงปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
5.2) มีคณะทำงานตรวจสอบความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมกุ้งโลก เพื่อคอยเฝ้าระวังการแข่งขันด้านการผลิตและการตลาด ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
5.3) ผู้ส่งออกมีศักยภาพในการแปรรูปสินค้ากุ้งที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
กลยุทธ์ (Strategy)
ประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : เพิ่มศักยภาพพันธุ์กุ้งทะเลคุณภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกุ้งทั้งพ่อแม่และลูกพันธุ์กุ้งให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตกุ้ง และพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณภาพและเหมาะกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่การเลี้ยง การจัดการด้านพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตนอเพลียสคุณภาพ การพัฒนาสายพันธุ์กุ้งและสร้างคลังสำรองสายพันธุ์กุ้งทะเล รวมถึงการจัดการด้านการผลิตลูกกุ้งสายพันธุ์ดี มีคุณภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : บริหารจัดการด้านการผลิตอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ : เพื่อบริหารจัดการด้านการผลิตอย่างยั่งยืน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งแหล่งน้ำสาธารณะและบ่อเลี้ยงกุ้งอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการบริหารอุตสาหกรรมกุ้ง รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและการลดต้นทุนการผลิต การควบคุมและกำกับให้มีการผลิตตามมาตรฐานของกรมประมง หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่กรมประมงรับรอง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในตัววัตถุดิบกุ้ง และการยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มศักยภาพการตลาดทุกระดับ
วัตถุประสงค์ : อุตสาหกรรมกุ้งไทยมีการผลักดันเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการตลาดจากของภาคผู้แปรรูปร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดของอุตสาหกรรมกุ้งไทยตลอดช่วงระยะเลาที่ผ่านมา ในช่วงปี 2557 – 2559 แนวทางการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการตลาดจะมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเก็บเกี่ยวและขนส่ง การพัฒนาและควบคุมการแปรรูปให้ได้มาตรฐาน การเสริมสร้างประสิทธิภาพการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด เป็นหลัก รวมถึงการควบคุมมาตรฐานการจับ การลำเลียง และการเสริมสร้างความเข้าใจในด้านสุขอนามัยของโรงงานแปรรูปเบื้องต้น ซึ่งส่งผลถึงมูลค่าของสินค้ากุ้งที่จะเพิ่มขึ้น โดยจะมีการดำเนินการในตลาดทุกระดับ ในช่วงอีก 3 ปี ข้างหน้า ทั้งนี้ในด้านตลาดต่างประเทศ จะดำเนินการส่งออกในรูปของสัดส่วนสมดุล โดยจะพยายามผลักดันให้มีการกระจายสัดส่วนการส่งออก ไม่ให้มีการพึ่งพิงตลาดใดตลาดหนึ่งมากกว่า 45% และจะดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์คุณภาพกุ้งไทย ภายใต้สโลแกน “Thai Shrimp: Tasty Food from Quality Farm” ในสื่อต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การดำเนินงานจะเป็นแบบเชิงรุก (Pro-active) เข้าหาตลาดเป้าหมาย และตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อันได้แก่ตลาดอาเซียน อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และประเทศแถบอเมริกาใต้ ฯลฯ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ผลักดันการวิจัยเพื่อพัฒนาอุสาหกรรมกุ้งไทย
วัตถุประสงค์ : การวิจัยและพัฒนาที่อยู่ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ จะประกอบด้วยกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้ การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพพ่อแม่พันธุ์ การวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตกุ้ง การวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้ากุ้ง การวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาด และการวิจัยการสร้างเครือข่ายทางการวิจัย ในช่วงอีก 3 ปี ข้างหน้า อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องการงานวิจัยใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดโลก การสร้างรูปแบบ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนากระบวนการผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : สนับสนุนการขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ : อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องดำเนินการอยู่ภายใต้การเปิดตัวของเขตเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเป็นการดีที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกกุ้งของไทยจะใช้โอกาสดังกล่าวนี้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การสนับสนุนการขยายฐานการผลิตและฐานการตลาดสู่ประชาคมอาเซียน จึงกำหนดให้มีการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ในด้านต่างๆ ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทย ได้แก่ การจัดหาพื้นที่เหมาะสมและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกุ้งและการรวมการลงทุนด้านห้องเย็นในประเทศภูมิภาค การวิเคราะห์และศึกษาผลกระทบต่อผู้เลี้ยงกุ้งและอุตสาหกรรมต่อเนื่องภายในประเทศที่กระทบจากการเปิดการค้าเสรี AEC การบริหารจัดการอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าวัตถุดิบ การพัฒนาระบบ Logistic ในภูมิภาคอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการผลิตในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการขยายฐานการตลาดและสร้างเครือข่ายการค้าและการผลิตในภูมิภาคอาเซียนทั้งด้านสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ ด้านปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์ ตลอดจนด้านแรงงานและการจัดทำองค์ความรู้ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ในตลาด ASEAN และในระดับโลก
ดังนั้น บทสรุปของยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 3 จะเป็นการใช้กลยุทธ์ทางด้าน การตลาดควบคู่การผลิต โดยจะดำเนินการทำการตลาดบนพื้นฐานด้านศักยภาพการผลิตภายในประเทศเป็นหลัก ผ่านการประสานงานระหว่างผู้ผลิตและผู้ส่งออก (Shrimp Contract Farming) ซึ่งจากขั้นตอนการระดมความคิดเห็นและการจัดทำเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในช่วงที่ผ่านมา นั้น มีการเสนอให้ดำเนินการในเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคผู้ผลิต และภาคผู้ส่งออก โดยรวมไปถึงต้องมีการบูรณาการด้านการรวบรวมผลการดำเนินการ โดยมีกรมประมงเป็นหน่วยงานกลางด้วย เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์
กลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
กลไกการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
ดำเนินการผ่าน “คณะอนุกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์” ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ตัวแทนจากภาคผู้ผลิตกุ้ง ตัวแทนจากห้องเย็นและภาคผู้ส่งออก ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน ทำหน้าที่ผลักดันยุทธศาสตร์ในเชิงนโยบาย พัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ในหมวดสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
กลไกการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติ
กรมประมงได้แต่งตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย” ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมประมงและถาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ตลอดสายการผลิต ทำหน้าที่ กำกับ ดูแล การดำเนินงานด้านกุ้งแบบครบวงจร ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เกิดการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กรมประมงและภาคเอกชน รวมไปถึงเกิดการประสานงานที่ดีในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เกษตรกร/ผู้ประกอบการได้รับ
1) เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทยมีคุณภาพและมีปริมาณเพิ่มขึ้น
3) สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์มีการพัฒนารูปแบบการแปรรูปขั้นสูงเพิ่มขึ้น
4) เกิดความมั่นคงของอุตสาหกรรมกุ้งไทยจากการเปิดประชาคมอาเซียน
ประเทศ/เศรษฐกิจโดยรวม
1) มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมทั้งระบบเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีแรงงานมากว่า 1 ล้านคน ตลอดสายการผลิตสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์
2) มูลค่าการส่งออกของสินค้ากุ้งเพิ่มขึ้น โดยจะสามารถนำเม็ดเงินจากการส่งออกซึ่งเกิดจากการสร้างมูลค่าเพิ่มภายในประเทศมากกว่า 90% เป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 85,000 ล้านบาท/ปี กลับเข้ามาพัฒนาประเทศ
3) สินค้ากุ้งไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นที่เชื่อมั่นในตลาดโลก
4) เพิ่มตลาดส่งออกสินค้ากุ้งของไทยในตลาดโลก
5) อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งของประเทศไทย มีความมั่นคงและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ
6) เป็นผู้นำในการผลิตและการส่งออกสินค้ากุ้งในระดับโลกและภูมิภาคอาเซียน


http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=9.0

บทที่1 เครฟิชคืออะไร

Crayfish จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่เรียกว่า ครัสเตเซี่ยน (Crustaceans) และเป็นสมาชิกของไฟลั่ม อาโทรพอด (Arthropoda) ซึ่งในไฟลั่มนี้สมาชิกอื่นๆอย่าง แมลง (Insecta), แมงมุม (Arachnida), ตะขาบและกิ้งกือ (Myriapoda) สมาชิกไฟลั่ม อาโทรพอด ทุกชนิดจะมีเปลือกที่เราเรียกว่าcuticle สร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนตมาปกคลุมลำตัว

และร่างกายของcrayfish นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลางหรือthorax คือส่วนที่มีขาสำหรับเดิน สุดท้ายคือส่วนท้องคือส่วนที่มีเนื้อไว้สำหรับรับประทานนั่นเอง แต่ส่วนหัวและส่วนกลางจะถูกผนึกรวมติดกันเป็นชิ้นเดียว เรียกว่าcephalothorax ด้วยเหตุนี้บางคนก็อาจจะบอกว่าลำตัวของcrayfish นั้นมีแค่สองส่วนก็ได้

crayfish จะมีเปลือก(carapace) ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ ชุดเกราะคลุมลำตัว ส่วนหัวและส่วนกลาง ชุดเกราะcarapaceนี้ มีสองหน้าที่คือไว้ปกป้องอวัยวะภายในที่บอบบางอย่างเหงือกหายใจ ที่มีลักษณะคล้ายขนนกบริเวณใกล้ๆปาก สองคือทำหน้าที่สำคัญในระบบหายใจ คือเป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านช่องเหงือกนั่นเอง ส่วนขาอันมากมายของcrayfishนั้น จะถูกแบ่งออกเป็นสองหน้าที่คือขาเดิน(walking legs หรือ Paraeopods) และขาว่ายน้ำ(swimmerets หรือ Pleopods) สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน โดยขาเดินคู่แรกสุดถูกพัฒนาขึ้นเป็นก้าม(Claw หรือ Cheliped) ที่แข็งแรงใหญ่โตนั่นเอง ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อการหายใจ รวมทั้งโบกพัดแพลงค์ตอนเข้าหาลำตัว เพื่อเป็นอาหารอีกด้วย สำหรับกุ้งตัวเมียขาว่ายน้ำมีความสำคัญมากกว่านั้น มันจะใช้ขาว่ายน้ำเป็นที่ๆ อุ้มไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้ว

ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ
Crayfish นั้นมีถิ่นกำเนิดกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีการบรรยายอนุกรมวิธานของ Crayfish ไปมากกว่า500ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นCrayfish ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติCrayfish จะอาศัยกกตัวอยู่ตามโขดหินหรือใต้ ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ หรือแม้กระทั่งทะเลสาป

พูดมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆท่านอาจจะยังสังสัยว่า เอ๊ะ!ไอ้Crayfishที่ว่านี่มันคือตัวอะไร ทำไมชื่อไม่ค่อยคุ้นหู จริงๆแล้วเจ้าCrayfish ที่กำลังกล่าวถึงนี้เชื่อว่าทุกๆ คนนั้นรู้จักมันในนามของกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืดนั่นเอง

ในบทความนี้เราจะขอจำแนกCrayfish แบบคร่าวๆละกัน ซึ่งแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็นการแบ่งตามโซนถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือProcambarus ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป อีกกลุ่มหนึ่งคือCherax ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย  ส่วนการเลี้ยงดูCrayfish ทั้งสองกลุ่มนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงจะขอกล่าวรวมๆทีเดียวไปเลย

ตู้เลี้ยง
ในกรณีที่ต้องการเลี้ยงCrayfish รวมกันหลายๆตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย อย่างเช่น ตู้ปลาขนาด24 นิ้วขึ้นไป เนื่องจากCrayfishนั้นมีนิสัยหวงถิ่นและค่อนข้างก้าวร้าว จึงต้องการตู้ เลี้ยงที่ค่อนข้างใหญ่หน่อยเพื่อให้กุ้งแต่ละตัวได้สร้างอาณาเขต ถ้าเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก อาจพบว่าจะมีการตบตี แย่งชิงที่อยู่ ก้ามใหญ่โตทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีไว้แค่ความสวยงามอย่างแน่นอน โดย Crayfishจะใช้ก้ามต่อสู้กันจนก้ามหัก ขาขาด บาดเจ็บหรือกระทบกระทั่งกันบาดเจ็บปางตายได้

เมื่อเลี้ยงCrayfishรวมกันอย่างหนาแน่น จะพบว่าCrayfishขนาดเล็กๆ มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกCrayfishที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารได้ การเลี้ยงในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่จะช่วยลดโอกาสที่กุ้งแต่ละตัวจะโคจรมาพบกันและต่อสู้ กันได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ กะลามะพร้าวที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆเพื่อให้เจ้าCrayfish ได้พักพิงหลบอาศัยในเวลากลางวัน ปกติแล้วช่วงกลางวันมันจะหาที่หมกตัวอยู่เงียบๆ แต่Crayfishจะออกมาจากที่ซ่อนเพื่อหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า ผู้เลี้ยงอาจจะใส่วัสดุหลบซ่อนตัวไว้คนละมุมตู้เพื่อให้กุ้งได้สร้างอาณาเขตของตนได้ชัดเจนมากขึ้น  เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้ว อาณาเขตการหาอาหารของCrayfishแต่ละตัว จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ40เซนติเมตร

นอกจากนี้Crayfishยังขึ้นชื่อว่าเป็นจอมหายตัว ผู้เลี้ยงหลายๆท่านอาจจะตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าเจ้าล๊อบสเตอร์ที่เลี้ยงไว้ ได้หายสาปสูญไป สันนิษฐานได้เลยว่าเจ้ากุ้งน้อยได้เล่นกายกรรมไต่สายออกซิเจนหลบหนีไปแล้ว ค้นหาดีๆจะพบซากกุ้งน้อยตากแห้งอยู่ใกล้ๆก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นตู้เลี้ยง Crayfish ควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วย



วัสดุปูรองพื้น
ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงCrayfishในตู้ที่ปล่อยพื้นตู้โล่งๆได้เลย ก็เป็นทางเลือกที่สะดวกดี อาจจะใส่ท่อพีวีซีลงไปตามจำนวนกุ้งที่เลี้ยงแค่นั้น เพื่อให้กุ้งได้ หลบซ่อนบ้าง บางท่านที่อาจจคำนึงถึงความสวยงามมากกว่าความสะดวกสะบายในการดูและรักษา อาจจะใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่าCrayfish จะมีอุปนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวด เพื่อสร้างเป็นรังหลบซ่อนในเวลากลางวัน ในที่สุดพื้นกรวดที่จัดเรียงไว้สวยงามก็จะเป็นหลุมบ่อเหมือนโลกพระจันทร์ไปในที่สุด แต่สำหรับผู้เลี้ยงที่รักที่จะใส่กรวดแล้ว ควรปูกรวดให้หนาประมาณ5เซนติเมตร  เพื่อให้มีความหนาพอสมควรที่Crayfishจะได้ขุดกลบลำตัวได้ อาจจะใช้หินขนาดใกญ่วางซ้อนๆ เป็นโพรงก็ดูสวยงามเช่นกัน แต่ควรจะจัดวางหินตกแต่งให้มีความมั่นคง ป้องกันการพังทลายที่เกิดจากการทรุดตัวของกรวดที่เจ้ากุ้งทั้งหลายขุดคุ้ยด้วย บางคนอาจจะสงสัยว่าใช้ทรายได้ไหม ขอตอบว่าไม่เหมาะสม เพระพื้นทรายนั้นจะมีความหนาแน่นสูง เจ้าCrayfishจอมขุด อาจจะมุดลงไปแล้วจมหายไปชั่วกาลนานเลย เนื่องจากน้ำสะอาดที่มีออกซิเจน ไม่สามารถลงไปถึงใต้ชั้นทราย กุ้งทั้งหลายก็จะขาดอากาศหายใจไปเอง

ระบบให้อากาศและระบบกรองน้ำ
จริงๆแล้วผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั้มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่เลี้ยงกุ้งจำนวนไม่มากนัก อย่างที่เราๆเห็นกันจนคุ้นตาในตลาด ปลาสวย งามที่ขายCrayfishกันในกระบะพลาสติกรองน้ำเพียงตื้นๆ Crayfishก็อยู่อาศัยอย่างแฮปปี้แล้ว แต่ระบบให้อากาศที่ดีก็มักจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของกุ้งในระยะยาวด้วย เพราะฉะนั้นใครจะสะดวกที่จะติดตั้งระบบอากาศก็ตามสบายเลย  แต่ไม่ต้องถึงกับปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมรุนแรงจนดูเหมือนอ่างจากุชชี่ เอาแค่เป็นฟองเบาๆก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำนั้นผู้เลี้ยงอาจใช้ระบบกรองราคาถูกและติดตั้งง่ายๆ อย่างกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มๆสีดำก็เพียงพอ ส่วนระบบกรองแบบกรองใต้ตู้นั้นอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะว่ามักจะขุดกรวดขึ้นมาจนเห็นแผ่นกรอง ทำให้ระบบกรองทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่

น้ำ
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 10.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ นอกจากนี้เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆแต่ทีละน้อยๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิฉับพลัน น้ำที่ใช้ควรจะสะอาดและปราศจากคลอรีนด้วย

*********************************************************

ดูเนื้อหาเพื่มเติม เกี่ยวกับกุ้งสวยงามต่างๆ ได้ที่นี่ครับ

http://myaqualove.blogspot.com/search/label/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%20%28%20Thai%20Language%20%29
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/11/10, [01:05:47] โดย ดุ๊กดิ๊กในหมู่ชน & น้องฉึ่งหนึ่งแมวเหมียว »

Germany fast goals!!!!

http://www.thelocal.de/