Sanya Declaration of the First Lancang-Mekong Cooperation (LMC) Leaders' Meeting
http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/14/73965-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8.html
ข่าวสารนิเทศ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๒
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๒ ซึ่งมีกัมพูชาและจีนเป็นประธานร่วม จะติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และข้อริเริ่มที่เป็นผลลัพธ์จากการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๑ ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างกลไกการทำงานในสาขาที่ผู้นำเห็นพ้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น และการดำเนินโครงการเร่งด่วนตามรายการโครงการซึ่งที่ประชุมผู้นำให้ความเห็นชอบ รวมทั้งหารือแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือในอนาคตระหว่างประเทศสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง เพื่อรักษาพลวัตให้มีความต่อเนื่องและเกิดผลเป็นรูปธรรม
กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการจากที่ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙ ที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน โดยนายกรัฐมนตรีไทยและจีนเป็นประธานร่วมกัน และมีประเทศในลุ่มน้ำโขงอีก 4 ประเทศร่วมเป็นสมาชิก ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา ความร่วมมือในกรอบแม่โขง - ล้านช้าง ได้เน้นการดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมเติมเต็มและต่อยอดการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการดำเนินการที่มีอยู่แล้วในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ อีกทั้งยังมุ่งดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการอนุวัติวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐ และเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลักษณะใต้ – ใต้อีกด้วย
กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 2 ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีนายปรัก สุคน รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาเป็นประธานร่วมกับนายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน
ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และได้หารือทิศทางในอนาคตของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการผลักดันการจัดตั้งคณะทำงานใน 6 สาขาที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ได้แก่ ความร่วมมือทรัพยากรน้ำ ความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน การเกษตร การลดความยากจน ความเชื่อมโยง และการส่งเสริมศักยภาพในการผลิต
ที่ประชุมยังได้จัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี และพิจารณาโครงการความร่วมมือรุ่นที่ 2 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2561 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นพ้องที่จะจัดตั้งกลไกประสานงานกลางในประเทศภายใต้กระทรวงการต่างประเทศตามหลักปฏิบัติของแต่ละประเทศ
อนึ่ง ที่ประชุมได้รับรองเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ ถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 2 เอกสารหลักการในภาพรวมสำหรับการจัดตั้งคณะทำงานในสาขาที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น และตารางติดตามความคืบหน้าของผลลัพธ์การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1
แหล่งที่มา: mfa.go.th และ fmprc.gov.cn
http://aseanwatch.org/2016/12/28/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B/
http://www.aseanthai.net/ewt_w3c/ewt_news.php?filename=&nid=6687
https://www.facebook.com/pg/CAScenter/photos/?tab=album&album_id=1337648899594385
กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง
2 PhotosUpdated over a year ago
Prof.Dr.Tang Zhimin ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัว (Xinhua News Agency) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยมีประเด็นคำถามดังต่อไปนี้ Q: ปัจจุบันความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนกำลังอยู่ในภาวะชะงักงัน แต่ทว่ากลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ได้เปิดเวทีใหม่ของความร่วมมือที่ลึกซึ้งระหว่างจีนกับอาเซียน อีกทั้งเป็นกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคที่นำโดยจีนภายใต้นโยบาย “การทูตกับประเทศเพื่อนบ้านของจีน” ท่านคิดอย่างไรกับกลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้างครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นปลายเดือนมีนาคม จะมีการกำหนดนโยบายอย่างไรบ้าง A: ขณะนี้กลไกสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงที่มีอยู่ ได้แก่ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) รวมทั้งยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวะดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Aeyawadee-Chaopraya-Mekong Economic Cooperation : ACMECS) ที่ริเริ่มโดยไทย และเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ได้มีการก่อตั้งกลไกการเจรจากรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับกลไกสนับสนุนความร่วมมือต่างๆก่อนหน้านี้ มีลักษณะพิเศษ 5 ประการ ดังนี้ ประการแรก เป็นกลไกสนับสนุนความร่วมมือแรกที่นำโดยทั้ง 6 ประเทศตลอดแนวแม่น้ำโขง ไม่ใช่กลไกความร่วมมือที่เกิดจากการนำขององค์กรหรือประเทศนอกอนุภูมิภาค ดังนั้นการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติสามารถสะท้อนความต้องการและผลประโยชน์ของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้มากกว่า ประการที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสำคัญ 3 ประการของกรอบความร่วมมือ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม การเมืองความมั่นคง หรือความร่วมมือนำร่องที่โดดเด่น 5 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน การจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการบรรเทาปัญหาความยากจน ล้วนสะท้อนว่านี่คือกลไกความร่วมมือภายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ครอบคลุมด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง ประการที่ 3 กลไกการเจรจากรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างและ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน มีความสอดคล้องกับ “ความเชื่อมโยง 5 ด้าน” ตามยุทธศาสตร์ One Belt one Road ของจีนในทางการเมืองสะท้อนให้เห็นถึงความเห็นพ้องต้องกันของจีนกับชาติสมาชิกอาเซียน ประการที่ 4 กลไกการเจรจากรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง จะช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงเงินกองทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงินของจีน คือ “กองทุนความร่วมมือด้านการลงทุนจีน-อาเซียน (China-ASEAN Investment Cooperation Fund)” และ “กองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อาเซียน (China-ASEAN Maritime Cooperation Fund)” “กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)” “ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank: AIIB)” “เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว” ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลจีน ตลอดจนเข้าถึงเงินทุนของภาคเอกชนจีนที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศ Mainland ASEAN ซึ่งถือเป็นหลักประกันทางการเงินที่เข้มแข็งแก่นักลงทุนในภูมิภาค ประการที่ 5 กลไกการเจรจากรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างจะเกิดผลเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ คือ โครงข่ายคมนาคมทางรถไฟที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทย-จีน และ ลาว-จีน และเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้งและความแตกต่างในการใช้ทรัพยากรน้ำของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง หารือเกี่ยวกับการวางแผนและออกแบบการจัดระเบียบร่องน้ำและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ Q: ประเทศไทยคาดหวังที่จะใช้ประโยชน์อะไรบ้างจากกลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เช่น ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่าง อาทิ มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเกษตรกรรมหรือลดปัญหาความยากจนหรือไม่ A: ประเทศไทยคาดหวังว่ากลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างจะสามารถทำให้เกิดหลักการร่วมกัน คือ “มีความเสมอภาค มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีการเปิดกว้าง มีความเห็นอกเห็นใจกัน” สามารถทำให้ทั้ง 6 ประเทศมุ่งสู่ “การเป็นผู้นำและประสานงานร่วมกัน” นอกจากนี้ไทยยังหวังว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้อย่างแท้จริง Q: สนับสนุนกลไกความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหนึ่งในทิศทางการพัฒนาของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ท่านคิดว่าไทย-จีนมีอุตสาหกรรมใดบ้างที่สามารถร่วมมือกันพัฒนาได้ A: ขณะนี้รัฐบาลไทยได้ผลักดันนโยบาย “ซุปเปอร์คลัสเตอร์” ประกอบด้วย คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคลัสเตอร์ดิจิทัล ทั้งนี้ยังสนับสนุน “คลัสเตอร์เป้าหมายอื่นๆ” ประกอบด้วย คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปและคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้ง“อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะส่งเสริมเป็นพิเศษ 10 อุตสาหกรรม” ขณะที่ในปี พ.ศ.2558 รัฐบาลจีนได้ประกาศ 12 อุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก อโลหะ อุปกรณ์ก่อสร้าง รถไฟ ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมี สิ่งทอ รถยนต์ โทรคมนาคม เครื่องจักร การบิน เรือ และอุตสาหกรรมทางทะเล จากอุตสาหกรรมดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ เคมี โทรคมนาคม สิ่งทอ เครื่องจักร การบินและอวกาศ ซึ่งไทย-จีนสามารถเลือกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 6 อุตสาหกรรมมาพัฒนาเป็นความร่วมมมือระหว่างสองประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่ทั้งไทยและจีนมีข้อได้เปรียบอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นจึงถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความน่าสนใจที่จะทำความร่วมมือกัน Q: ขณะนี้หลายประเทศในอาเซียนประสบกับปัญหาภัยแล้ง จนนำไปสู่การจุดประเด็นปัญหาเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรน้ำในลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้มีบางคนคาดการณ์ว่า ในอนาคตภูมิภาคนี้จะเกิดสงครามการแย่งชิงน้ำ ท่านคิดว่าประเด็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำจะกลายเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้างหรือไม่ A: สงครามการแย่งชิงน้ำดูจะเป็นคำพูดที่ค่อนข้างเกินจริงไป ก่อนอื่น 5 ประเทศในอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของประชาคมอาเซียน และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ฯลฯ ซึ่งต่างมีกลไกความร่วมมือมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ล่าสุดจีนเองได้เปิดประตูระบายน้ำอย่างป็นทางการ ถือเป็นการออกมาแสดงความรับผิดชอบในฐานะประเทศต้นน้ำที่ยินดีร่วมมือกับประเทศปลายน้ำเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติและร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน กลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างที่นำโดยทั้ง 6 ประเทศตลอดแนวแม่น้ำโขง และมีการประสานงานร่วมกันได้ช่วยสร้างปัจจัยบวกที่เป็นประโยชน์แก่ความร่วมมืออย่างสมเหตุสมผลระหว่างกัน Q: สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนพลังน้ำจิ่งหง (Jing Hong) เพื่อช่วยแก้วิกฤตภัยแล้งของประเทศแม่น้ำโขงตอนปลาย ท่านคิดว่าภายใต้กลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างนั้นประเทศในอาเซียนคิดอย่างไรที่ประเทศต้นน้ำอย่างจีนจะมีการสร้างเขื่อน มีการควบคุมการปล่อยหรือกักเก็บน้ำ และท่านคิดว่าประเทศเหล่านี้จะร่วมมือกันเพื่อเจรจาต่อรองกับจีนหรือไม่ เหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลอย่างไรต่อการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้างครั้งแรกที่กำลังจะเกิดขึ้น อีกทั้งจีนควรมีมาตรการในการรับมืออย่างไร A: หากพิจารณาจาก ประเด็นสำคัญ 3 ประการของกรอบความร่วมมือ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม การเมืองความมั่นคง หรือความร่วมมือนำร่องที่โดดเด่น 5 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคม อุตสาหกรรมการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน การจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการบรรเทาปัญหาความยากจน เนื้อหาของกลไกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างไม่ใช่แค่เพียงการแบ่งปันทรัพยากรน้ำเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาร่องน้ำและเนื้อหาความร่วมมือด้านอื่นๆ เราไม่ควรที่จะคิดว่าการแบ่งปันทรัพยากรน้ำหมายถึงการที่ใครได้รับประโยชน์หรือใครเป็นผู้เสียประโยชน์เพียงอย่างเดียวตามทฤษฎี Zero-sum game ในทางกลับกันจะต้องมีการออกแบบและวางแผนพัฒนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียม รายละเอียดเพิ่มเติม : httpa//news.xinhuanet.com/world/2016-03/22/cb1118409269.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0:::http://news.xinhuanet.com/world/2016-03/22/c_1118409269.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0 httpa//w.huanqiu.com/r/MV8wXzg3NDY1OTRfMTM4XzE0NTg2MDAwMDA=:::http://w.huanqiu.com/r/MV8wXzg3NDY1OTRfMTM4XzE0NTg2MDAwMDA= httpa//www.asean-china-center.org/2016-03/21/cb135207407.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0:::http://www.asean-china-center.org/2016-03/21/c_135207407.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0 httpa//intl.ce.cn/sjjj/qy/201603/21/t20160321b9670497.shtml?from=singlemessage&isappinstalled=0:::http://intl.ce.cn/sjjj/qy/201603/21/t20160321_9670497.shtml?from=singlemessage&isappinstalled=0 httpa//news.xinhuanet.com/mrdx/2016-03/20/cb135205669.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0:::http://news.xinhuanet.com/mrdx/2016-03/20/c_135205669.htm?from=singlemessage&isappinstalled=0